วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทย
วัฒนธรรมอาหารการกินของคนไทย
สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม
มีแม่น้ำลำคลองหลายสายไหลผ่าน
จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวชั้นเลิศแห่งหนึ่งของโลก
ชีวิตคนไทยในอดีตล้วนผูกพันกับสายน้ำ อีกทั้งยังมี
ชายฝั่งทะเลเหยียดยาวทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
อันเป็นแหล่งอาหารประเภทปลานานาชนิด
ซึ่งเป็นที่มาของคำพังเพยเปรียบเปรยถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารการกินของไทยว่า
"ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"
เมื่อสังคมไทยเริ่มติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านต่าง ๆรวมทั้งด้านอาหารการกิน โดยได้รับรูปแบบอาหารบางชนิดมาปรับปรุง ดัดแปลงเป็นรสชาติแบบไทยทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่ ๆ มากมาย กลายเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ
" วัฒนธรรมอาหารไทย ๔ ภาค"
วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร ภาคใต้
วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดด เด่นเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะสืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์
กลางการเดิน เรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย
จีนและชวาในอดีตทำให้วัฒน ธรรมของชาวต่างชาติโดย
เฉพาะอินเดียใต้ซึ่งเป็นต้นตำรับใน
การใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากอาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป
มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู
ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ
และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซียอาหาร ของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ
และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเล อุดมสมบูรณ์
แต่สภาพอากาศร้อนชื้นฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม
จึงมีรสจัดช่วยให้ร่าง กายอบอุ่นป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
การกิน
ลักษณะเด่นของการรับประทานอาหารของชาวภาคใต้ คือ
มีผักสารพัดชนิดเป็นผักจิ้มหรือผักแกล้มในการรับประทาน อาหารทุกมื้อ ภาษาท้องถิ่น
เรียกว่า ”ผักเหนาะ”ความนิยมใน
การรับประทานผักแกล้มอาหารของชาวใต้ เป็นผลมาจากการที่ ภาคใต้มีพืชผักชนิดต่างๆ
มาก และหาได้ง่าย คนใต้นิยมรับประ ทานอาหารเผ็ด จึงต้องมีผักแกล้ม
เพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ด และเพื่อชูรสอาหาร อาหารท้องถิ่นยังนิยมใส่ขมิ้นในอาหาร
นิยมรับประทาน ”ขนมจีน” รองจากข้าว
ใส่เคยหรือกะปิเป็น เครื่องปรุงรสอาหาร ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานน้ำบูดู ซึ่ง
เป็นน้ำที่หมักจากปลา แล้วนำมาเคี่ยวปรุงรสให้ออกเค็มๆ หวานๆ
นับเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ของชาวไทยมุสลิม
อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย น่าลิ้มลอง
แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน คือความเผ็ดร้อนของรส
ชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน
รสเผ็ดของอาหารปักษ์ ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้งและพริกไทย
ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ รสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก น้ำ ส้มลูกโหนด ตะลิงปลิง ระกำ
มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้นเนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ
อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วยเพื่อลดความเผ็ด ร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า
ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด ผักเหนาะของภาคใต้มีหลาย อย่าง
บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ
แต่ก็มีผักอีกหลาย อย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น
การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้ ชนิดของผักจะคล้ายๆ กัน หรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้
วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร ภาคอีสาน
สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่นอย่างมาก
เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง
วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด
พืชผักต่าง ๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน ๆ จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสานชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ
เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหารได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่าง ๆที่มาของรสชาติอาหารอีสาน
เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้งรสเปรี้ยวได้จากมะกอก
ส้มมะขาม และมดแดง ในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์
ประกอบกับเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก
จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการทำและรสชาติ
จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน
วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร ภาคเหนือ
ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น
นิยมรับประทาน ข้าวเหนียวเป็นหลัก จึงมีภาชนะใส่ข้าวเหนียวในขั้นตอนต่างๆ เช่น
ใช้ภาชนะที่เรียกว่า “หวด” ในการนึ่งข้าวเหนียว
ซึ่งมีใช้กันทั่วไปใน ภาคเหนือตอนบน คือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ตาก สานด้วยตอกไม้ไผ่ โดยทั่วไปใช้ไผ่เรี้ย หรือ ไผ่บง
การใช้ตอกเรี้ยและตอกบงมีข้อดีข้อเสียต่างกัน หวดที่สานด้วย
ไผ่เรี้ยจะมีความเหนียว ยืดหยุ่นอ่อนตัวได้ดี เวลาบีบปากหวดจะอ่อน ตัวตามไม่หัก
ส่วนหวดที่สานด้วยไผ่บง มีความแข็งแรงกว่า ข้อเสีย คือหักง่าย
ส่วนใหญ่นิยมใช้หวดที่ทำด้วยไผ่บงมากกว่า ลักษณะของ
หวดส่วนที่เป็นก้นจะสานให้ตาห่าง กันพอเมล็ดข้าวสารไม่หลุดลอดออกได้ มีมุม 4
มุม ส่วนลำตัวของหวด จะเป็นทรงกรวย ปากผายออกกว้างกว่าส่วนก้น ขนาดของหวดมีตั้งแต่
20 เซนติเมตรไปจนถึง 40-50
เซน ติเมตร
เมื่อข้าวเหนียวสุกแล้วจะนำออกมาจากหวดมาผึ่งบนภาชนะที่เรียกว่า “กั๊ว
หรือกระโบม” ซึ่งเป็นภาชนะ
ที่คล้ายรูปกระจาดที่ทำด้วยไม้เพื่อให้ข้าวเหนียวไม่แฉะ
และบรรจุข้าวเหนียวลงภาชนะจักสาน ที่เรียกว่า “ก่อง
หรือกระติบ” ในภาคอีสาน ทำให้ข้าวเหนียวอุ่น อยู่ได้นานจนถึงเวลารับประทาน
อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก
มีน้ำ พริกชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ
แกงแค นอกจากนั้นยังมี แหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่างๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญ
ที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตก ต่างจากภาคอื่นๆ คือ การที่อากาศหนาวเย็น
เป็นเหตุผลให้อาหาร ส่วนใหญ่มีไขมันมากและมีรสชาดไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลใน อาหาร
ความหวานจะได้จากส่วนผสมของ อาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา
และนิยมใช้ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง
ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผัก นึ่ง ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว
ที่มีเครื่องปรุงสำคัญ ขาดไม่ได้คือ ”ดอกงิ้ว” ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง
ถือเป็นเครื่องเทศ พื้นบ้านที่มีกลิ่นหอม หรืออย่าง ตำขนุน แกงขนุน
ที่มีส่วนผสมเป็น ผักชนิดอื่น เช่น ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม
วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร ภาคกลาง
ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์
จึงเป็นแหล่งปลูก ข้าวที่สำคัญของประเทศ และมีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งพืช
ผักและสัตว์ต่างๆ คนภาคกลางนิยมรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหาร หลักในอดีต
คนภาคกลางนิยมใช้ใบบัวห่อข้าวนำไปรับประทานเวลา ออกไปทำงานในนา
หรือการเดินทางเรียกกันว่า”ข้าวห่อใบบัว” กับ
ข้าวที่นิยมมีเกือบทุกมื้ออาหาร คือ น้ำพริกประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริก เผา
น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาย่าง รับประทานกับผักนานาชนิดที่หา
ได้ในท้องถิ่นและนิยมปรุงรสอาหารด้วยน้ำ ปลาเช่นเดียวกับคนภาค อีสานที่นิยมใช้น้ำปลาร้าปรุงอาหาร
คนไทยภาคกลางบริโภคข้าวเจ้าเป็นหลัก
การรับประทานอาหาร ในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง รสชาดอาหารภาค
กลางมีการผสมผสานของหลากหลายรสชาติ ทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด
เอกลักษณ์ของรสชาติอาหาร ไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุง เพียงอย่างเดียว เช่น
รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหาร อาจได้ทั้งจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก ผล
ไม้บางชนิด เช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกัน
จึงทำให้เกิดความ หลากหลายใช้ชนิดของอาหารไทยภาคกลาง เช่น ต้มยำ ใช้มะนาว เพื่อให้รสเปรี้ยว
แต่ต้มโคล้ง ใช้น้ำมะขามเปียก เพื่อให้รส เปรี้ยวแทน
นอกจากนั้นยังมีรสเค็ม ที่ได้จากน้ำปลา กะปิ รสขม ที่ได้จากพืช ชนิดต่างๆ
เช่น มะระ เป็นต้น และ ความเผ็ด ที่ได้จากพริก พริกไทย และเครื่องเทศ
อาหารภาคกลางเป็น อาหารที่มีครบทุกรส ซึ่งอาหารไทยที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จัก
และนิยมบริโภคล้วนแต่เป็นอาหารภาค กลางทั้งนั้นไมว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง
แกงเขียวหวานผัดไทย พะแนง เป็นต้น จึงทำให้อาหารภาคกลางมีความ
โดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าอาหารภาคอื่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)